จากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน จุดที่ควรพัฒนา ร่วมกับชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล ของบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 สามารถสรุปเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ดังนี้
ตาราง แสดงการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาและจุดที่ควรพัฒนาของหมู่บ้าน
ประเด็น |
จุดแข็ง |
จุดอ่อน/ปัญหา |
แนวทางการพัฒนา |
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ |
ที่ดิน |
- มีเอกสิทธิ์
- มีนิเวศย่อยหลากหลาย (นา ไร่ สวน ฟาร์ม)
- ปลูกมะเขือเทศและมันฝรั่งได้
|
- คุณภาพดิน (เปรี้ยวและเค็ม)
|
- ต้องปรับสภาพดินให้เอื้อต่อการปลูกพืช
- ลดการใช้สารเคมี/ใช้อินทรีย์
- เปลี่ยนชนิดพืชที่ทนต่อดินเปรี้ยวและดินเค็ม
|
แหล่งน้ำ |
- มีแหล่งน้ำ
- มีแม่น้ำ ลำน้ำ ห้วย ได้แก่ ลำน้ำพุง- บึงหนองและอื่น ๆ ได้แก่ หนองหาร หนองปลาดุก
|
- น้ำไม่พอใช้ในการผลิตทางการเกษตร
- ไกลจากแหล่งน้ำ
|
- จัดระบบชลประทาน
- จัดให้มีระบบส่งน้ำที่ทั่วถึง
|
ป่าไม้ |
- ป่าช้า 33 ไร่ (ภายในมีพืชสมุนไพรหลากหลายชนิด)
- ป่าดอนปู่ตา 6 ไร่ (ใช้หาของป่า)
- คณะกรรมการบริหารจัดการ
|
- มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันแต่มีกฎหมายหรือข้อบังคับที่ยังไม่เป็นระบบหรือไม่ชัดเจน หรือบางกลุ่มมองว่าไม่เป็นธรรมและไม่ยอมรับ
- ทรัพยากรเริ่มเสื่อมโทรมจากการใช้ประโยชน์ของคนในชุมชนมากเกินไป
|
- จัดตั้งข้อบังคับและระเบียบที่ทุกคนยอมรับและเอื้อประโยชน์ต่อคนในชุมชน
- ส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรให้สามารถคงไว้
- ปลูกป่าเพื่อทดแทน
|
ประเด็น |
จุดแข็ง |
จุดอ่อน/ปัญหา |
แนวทางการพัฒนา |
ด้านสังคมและเศรษฐกิจ |
อาชีพ
ทำนาเป็นหลัก |
- มีข้าวกินมาจากนาปี
- มีข้าวขายมาจากนาปรัง
- มีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเล้าแตก
- มีข้าวอินทรีย์
|
- บางรายข้าวไม่พอกินมีที่แต่ไม่มีทุน
- ยังขาดข้อมูลฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตรกร SF (รายย่อย), MF (ปานกลาง), BF (รายใหญ่)
- เป็นเกษตรเคมีเข้มข้น
|
- ต้องเพิ่มเติมข้อมูล SF, MF
- ควรเริ่มโครงการกับ SF ก่อน จากนั้นจึงค่อยขยับเป็น MF และ BF
- ลดการใช้สารเคมีโดยการให้ความรู้การผลิตสารอินทรีย์และการใช้สารอินทรีย์
- ควรมีหน่วยงานหรือองค์ความรู้การศึกษาเรื่องสุขภาพชุมชน
|
พืชหลังนา |
- มีผักสวนครัว
- มีมะเขือเทศ
- มีมันฝรั่ง
- ความรู้การผลิตความรู้เรื่องการผสมพันธุ์พืช
|
- มีการใช้สารเคมี
- เมล็ดพันธุ์ไม่ดี
|
- ลดการใช้สารเคมี/ใช้อินทรีย์
- หาพืชที่เหมาะสมต่อพื้นที่
|
ผ้าคราม |
- มีทักษะความรู้ความชำนาญในเรื่องการ ทอผ้า ย้อมผ้าและแปรรูป
- มีเครือข่าย
|
- คนทอผ้าส่วนใหญ่อายุมาก
- ช่วงการผลิตไม่เป็นเชิงธุรกิจ/ไม่แน่นอน
- การรักษามาตรฐาน
|
- สร้างมาตรฐานเนื้อคราม
- อนุรักษ์และสืบสานทายาทผ้าครามโดยการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและกระบวนการเรียนรู้
- สร้างมาตรฐานร่วมกันเรื่องราคา คุณภาพ เพื่อให้สามารถต่อรองราคาได้
- ตั้งกองทุนสนับสนุนกิจกรรมกลุ่ม มีการระดมหุ้ม ระดมทุน
|
เลี้ยงโค |
- มีกลุ่มสมาชิกผู้เลี้ยงโค-กระบือ
- มีพื้นที่ในการเลี้ยง
|
- ราคาตกต่ำ
- โคเป็นโรค (ปากเท้าเปื่อย)
- ขาดทุน
- ไม่มีอาหารในฤดูแล้ง
|
- ตั้งกลุ่มสหกรณ์
- ให้ความรู้เรื่องการพยาบาลเบื้องต้น การใช้ยารักษาโรค
- ส่งเสริมการปลูกหญ้า ตลอดจนสนับสนุนเมล็ดพันธุ์หญ้า
|