การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาและจุดที่ควรพัฒนา

จากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน จุดที่ควรพัฒนา ร่วมกับชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล ของบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 สามารถสรุปเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ดังนี้

ตาราง แสดงการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาและจุดที่ควรพัฒนาของหมู่บ้าน

ประเด็น จุดแข็ง จุดอ่อน/ปัญหา แนวทางการพัฒนา
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ที่ดิน
  1. มีเอกสิทธิ์
  2. มีนิเวศย่อยหลากหลาย (นา ไร่ สวน ฟาร์ม)
  3. ปลูกมะเขือเทศและมันฝรั่งได้
  1. คุณภาพดิน (เปรี้ยวและเค็ม)
  1. ต้องปรับสภาพดินให้เอื้อต่อการปลูกพืช
  2. ลดการใช้สารเคมี/ใช้อินทรีย์
  3. เปลี่ยนชนิดพืชที่ทนต่อดินเปรี้ยวและดินเค็ม
แหล่งน้ำ
  1. มีแหล่งน้ำ
  2. มีแม่น้ำ ลำน้ำ ห้วย ได้แก่ ลำน้ำพุง- บึงหนองและอื่น ๆ ได้แก่ หนองหาร หนองปลาดุก
  1. น้ำไม่พอใช้ในการผลิตทางการเกษตร
  2. ไกลจากแหล่งน้ำ
  1. จัดระบบชลประทาน
  2. จัดให้มีระบบส่งน้ำที่ทั่วถึง
ป่าไม้
  1. ป่าช้า 33 ไร่ (ภายในมีพืชสมุนไพรหลากหลายชนิด)
  2. ป่าดอนปู่ตา 6 ไร่ (ใช้หาของป่า)
  3. คณะกรรมการบริหารจัดการ
  1. มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันแต่มีกฎหมายหรือข้อบังคับที่ยังไม่เป็นระบบหรือไม่ชัดเจน หรือบางกลุ่มมองว่าไม่เป็นธรรมและไม่ยอมรับ
  2. ทรัพยากรเริ่มเสื่อมโทรมจากการใช้ประโยชน์ของคนในชุมชนมากเกินไป
  1. จัดตั้งข้อบังคับและระเบียบที่ทุกคนยอมรับและเอื้อประโยชน์ต่อคนในชุมชน
  2. ส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรให้สามารถคงไว้
  3. ปลูกป่าเพื่อทดแทน

 

ประเด็น จุดแข็ง จุดอ่อน/ปัญหา แนวทางการพัฒนา
ด้านสังคมและเศรษฐกิจ
อาชีพ

ทำนาเป็นหลัก

  1. มีข้าวกินมาจากนาปี
  2. มีข้าวขายมาจากนาปรัง
  3. มีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเล้าแตก
  4. มีข้าวอินทรีย์
  1. บางรายข้าวไม่พอกินมีที่แต่ไม่มีทุน
  2. ยังขาดข้อมูลฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตรกร SF (รายย่อย), MF (ปานกลาง), BF (รายใหญ่)
  3. เป็นเกษตรเคมีเข้มข้น
  1. ต้องเพิ่มเติมข้อมูล SF, MF
  2. ควรเริ่มโครงการกับ SF ก่อน จากนั้นจึงค่อยขยับเป็น MF และ BF
  3. ลดการใช้สารเคมีโดยการให้ความรู้การผลิตสารอินทรีย์และการใช้สารอินทรีย์
  4. ควรมีหน่วยงานหรือองค์ความรู้การศึกษาเรื่องสุขภาพชุมชน
พืชหลังนา
  1. มีผักสวนครัว
  2. มีมะเขือเทศ
  3. มีมันฝรั่ง
  4. ความรู้การผลิตความรู้เรื่องการผสมพันธุ์พืช
  1. มีการใช้สารเคมี
  2. เมล็ดพันธุ์ไม่ดี
  1. ลดการใช้สารเคมี/ใช้อินทรีย์
  2. หาพืชที่เหมาะสมต่อพื้นที่
ผ้าคราม
  1. มีทักษะความรู้ความชำนาญในเรื่องการ ทอผ้า ย้อมผ้าและแปรรูป
  2. มีเครือข่าย
  1. คนทอผ้าส่วนใหญ่อายุมาก
  2. ช่วงการผลิตไม่เป็นเชิงธุรกิจ/ไม่แน่นอน
  3. การรักษามาตรฐาน
  1. สร้างมาตรฐานเนื้อคราม
  2. อนุรักษ์และสืบสานทายาทผ้าครามโดยการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและกระบวนการเรียนรู้
  3. สร้างมาตรฐานร่วมกันเรื่องราคา คุณภาพ เพื่อให้สามารถต่อรองราคาได้
  4. ตั้งกองทุนสนับสนุนกิจกรรมกลุ่ม มีการระดมหุ้ม ระดมทุน
เลี้ยงโค
  1. มีกลุ่มสมาชิกผู้เลี้ยงโค-กระบือ
  2. มีพื้นที่ในการเลี้ยง
  1. ราคาตกต่ำ
  2. โคเป็นโรค (ปากเท้าเปื่อย)
  3. ขาดทุน
  4. ไม่มีอาหารในฤดูแล้ง
  1. ตั้งกลุ่มสหกรณ์
  2. ให้ความรู้เรื่องการพยาบาลเบื้องต้น การใช้ยารักษาโรค
  3. ส่งเสริมการปลูกหญ้า ตลอดจนสนับสนุนเมล็ดพันธุ์หญ้า