วิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นชุมชน

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้จัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อย สำรวจ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหลาย ๆ ภาคส่วนทั้งชาวบ้านในชุมชนบ้านม่วงลายทั้ง 2 หมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล ผ่านการแสดงความคิดเห็นจากประชาชน การสำรวจ/ออกพื้นที่  ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน กชช 2 ค.  และข้อมูลการจัดทำแผนชุมชนมาวิเคราะห์เพื่อรวบรวมความคิดเห็นในการพัฒนาท้องถิ่นชุมชนบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9  สามารถสรุปปัญหาและสาเหตุความต้องการของประชาชนในแต่ละด้านได้ดังนี้

มิติทางสังคมและเศรษฐกิจ

  • กลุ่มทอเสื่อกก

มีการจัดทำเป็นรายเดี่ยว และเป็นกลุ่ม แต่ไม่เป็นทางการ มีสมาชิกประมาณ 15 ราย ทรัพยากรที่มีคือต้นกกพันธุ์พระราชินี ไหลน้ำ ซึ่งประชากรในหมู่บ้าน (ปลูกเอง) และต้นผือตามธรรมชาติ จะขายตามขนาด ความยาวจะอยู่ที่ 2 เมตรทุกผืน แต่ความกว้างต่างกัน เช่น ไซส์ L กว้าง 1.50 เมตร ขายในราคา 150 บาท ไซส์ M กว้าง 1.20 เมตร ขายในราคา 120 บาท และไซส์ S กว้าง 0.80 เมตร ขายในราคา 80 บาท นอกจากนี้ยังมีเสื่อพับผืนละ 500 บาท (รับทำตามกำลังซื้อ) ใน 1 ปี จะผลิตเสื่อได้ประมาณ 100 ผืน คิดถัวเฉลี่ยเป็นเงิน จำนวน 10,000 บาท ต้องการให้มาช่วยสนับสนุนและส่งเสริม รวมทั้งสอนวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและทันสมัย

  • กลุ่มแปรรูป

มีการจัดทำเป็นรายกลุ่ม เป็นกลุ่มเป็นทางการ มีสมาชิกประมาณ 5-6 คน ทรัพยากรที่มีคือต้นกกพันธุ์พระราชินี ไหลน้ำ ซึ่งประชากรในหมู่บ้าน (ปลูกเอง) และต้นผือธรรมชาติ จะแปรรูปได้ดังนี้ กล่องทิชชู่ หมวก กระเป๋า เป็นต้น จะขายตามขนาดและรูปทรง เช่น หมวกราคา 119 บาท  กล่องทิชชู่ 59 บาท กระเป๋าตามขนาด ไม่ต่ำกว่า 100 บาท และสามารถสั่งเป็นพรีออร์เดอร์ได้ ต้องการให้มาช่วยสนับสนุนและส่งเสริม รวมทั้งสอนวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและทันสมัยเช่นเดียวกับกลุ่มทอเสื่อกก

  • กลุ่มเลี้ยงโค-กระบือ

สมาชิกสหกรณ์หมู่บ้าน เป็นวัวเลี้ยงเอง สหกรณ์สนับสนุน อาหารสัตว์ โดยโคขุนราคาอยู่ที่ 25,550 บาท  ซื้อวัวเลี้ยงเองโดยวัวที่ซื้อจะเป็นวัวตัวเมีย 1 ตัว ตัวผู้ 1 ตัว เพื่อ นำมาเป็นแม่พันธุ์พ่อพันธุ์ ปัญหาที่พบ ราคาตกต่ำ วัวเป็นโรค (ปากเท้าเปื่อย) ขาดทุน ไม่มีอาหาร  สิ่งที่ต้องการให้สนับสนุน ต้องการเมล็ดพันธุ์หญ้า การรักษาโรคพยาธิ การสอนวิธีลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ และวิธีการเก็บรักษาหญ้าไว้ใช้ในฤดูที่ขาดแคลน และช่วยหาพันธุ์สัตว์ที่ดีเหมาะสมต่อการเลี้ยงในพื้นที่

  • การทำนาปี/นาปรัง

นาปี ทำทุกหลังคาเรือน ทำเป็นรายเดี่ยว ไถนาไร่ละ 500 บาท พันธุ์ข้าว 12/ไร่ = 250 บาท พันธุ์ข้าว(บางคนซื้อ บางคนมีอยู่แล้ว) ราคากระสอบละ 500 บาท (25 กิโลกรัม/กระสอบ) การใส่ปุ๋ย โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ครั้ง ๆ ละ 50 กิโลกรัม/ไร่ ปุ๋ยราคากระสอบละ 700 บาท

นาปรัง พันธุ์ข้าวนาปรังกระสอบละ 300 บาท (25 กิโลกรัม/กระสอบ) มีการใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง ๆ ละ 2 กระสอบ/ไร่ พันธุ์ข้าวราคากระสอบละ 700 บาท

 ค่าจ้างเกี่ยว (รถเกี่ยวข้าว)

ข้าวล้ม 1,000 บาท/ไร่

ข้าวตั้ง 600 บาท/ไร่

(จ้างคนเกี่ยว) วันละ 400 บาท

 

รายจ่ายในการทำนาปีแบ่งเป็นช่วงเดือน ได้ดังนี้

เดือน เมษายน เริ่มการไถเตรียมดินในการทำนา ไร่ละ 250 บาท

เดือน พฤษภาคม จะเป็นการตกกล้า 10 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 15:15:15 ราคากระสอบละประมาณ 880 บาท

เดือน มิถุนายน จะถอนกล้า มีการจ้างมัดละ 3-5 บาท

เดือน กรกฎาคม ดำนา วันละ 300 บาท

เดือน สิงหาคม ใส่ปุ๋ยครังที่ 2 สูตร 60-0-0

เดือน กันยายน-ตุลาคม ใส่ปุ๋ยครังที่ 3 สูตร 16-16-8

เดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน เป็นการเก็บเกี่ยว

  1. จ้างคนวันละ 300 บาท
  2. จ้างรถไร่ละ 500-700 บาท

รายจ่ายในการทำนาปรังแบ่งเป็นช่วงเดือน ได้ดังนี้

เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม เป็นช่วงไถเตรียมดิน ไร่ละ 250 บาท

เดือนมกราคม หว่านพันธุ์ข้าว 9-13 กิโลกรัม/ไร่

เดือนกุมภาพันธ์จะเริ่มใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1

เดือนมีนาคมเริ่มใส่ปุ๋ยครั้งที่  2

เดือนเมษายน เริ่มเก็บเกี่ยว

ปัญหาที่พบ  โรคเพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด หอยเชอรี่ วัชพืช ราคาตกต่ำ ต้นทุนสูง สิ่งที่ต้องการให้สนับสนุน ต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าว และกรรมวิธีในการปลูกข้าวที่ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยและสารเคมี

ทำสวน

มีการทำสวนทั้งสวนมะเขือเทศ มันฝรั่ง โดยจะเป็นที่ดินตัวเอง เพื่อใช้ในการทำสวน โดยจะมี ราคาไร่ละ 200-300 บาท ข้างเคียงคือ ในการทำสวนนั้น สวนมะเขือเทศ สวนมันฝรั่ง จะใช้เวลาในการทำ 4 เดือน โดยจะทำปีละ 1 ครั้ง

ต้นกก  การปลูกที่จะได้ผลดีจะต้องมีการเตรียมดิน มีการไถ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เรียกว่าไถดะ เป็นการเปิดหน้าดิน กลับดินบนลงล่างและกำจัดวัชพืชปล่อยทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ ไถครั้งที่ 2 เป็นการไถแปร เป็นการพรวนดิน ปรับหน้าดิน การปลูกนิยมปลูกในฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน โดยใช้หน่อต้นกกมาตัดส่วนบนของลำต้นให้เหลือประมาณ 30 ซนติเมตรแล้วนำไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ โดยใช้ประมาณ 3-5 หน่อต่อหลุมแต่ละหลุมห่างกันประมาณ 25 ซนติเมตรระดับน้ำให้ต่ำกว่า 1 ฟุต เพราะถ้าน้ำมากรากจะขาดเวลานำมาทอเสื่อจะขาด เมื่อต้นกกมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตรซึ่งใช้เวลาประมาณ 20-30 วัน ควรกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยคอก

จากการวิเคราะห์ปัญหา สภาพปัญหาและสาเหตุต่าง ๆ ร่วมกับชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล ของบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 สามารถสรุปเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ดังนี้

ด้านการศึกษา  

  1. บุคลากรทางการศึกษาไม่เพียงพอ
  2. ขาดสื่อวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน ครุภัณฑ์การศึกษาที่มีคุณภาพและทันสมัย

ด้านเศรษฐกิจ   

  1. ปัญหาความยากจน ค่าครองชีพสูงขึ้น
  2. การใช้ปุ๋ยและสารเคมีในกระบวนการผลิต ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน
  3. ต้นทุนการผลิตสูง แต่ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ
  4. ปัญหาพื้นที่การเกษตรจากภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง
  5. ขาดวัตถุดิบและองค์ความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย

ด้านสังคม

  1. ปัญหายาเสพติดในพื้นที่
  2. ปัญหาครอบครัว สังคมไม่เข้มแข็ง

ด้านสิ่งแวดล้อม

  1. ประชาชนขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  2. ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการขยะ
  3. สภาพห้วย น้ำ ลำคลอง ตื้นเขิน น้ำไม่พอต่อการเกษตร
  4. ในชุมชนไม่มีกฎหมายและข้อกำหนดเรื่องการควบคุมมลพิษ ปัญหามลพิษทางน้ำและอากาศ และการใช้ทรัพยากร

ด้านประเพณีและวัฒนธรรม

  1. ประชาชนคนรุ่นใหม่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมน้อย
  2. ประชาชนคนรุ่นใหม่มีการตอบรับกระแสบริโภคนิยมและวัฒนธรรมตะวันตกมากเกินไป

การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง (องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงลาย, 2561) 

ตาราง แสดงการประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา

โอกาส (Opportunity) อุปสรรค (Threat)
  1. ด้านเศรษฐกิจ

1.1 การขยายตลาดทางการค้าการลงทุนทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรมในครัวเรือน

1.2 การสร้างมูลค่าเพิ่มและความแตกต่างในสินค้า

1.3 แนวทางการพัฒนาประเทศที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.4 เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้การปฏิบัติงานและการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ และให้บริการข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น

1.5 การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอกสะดวกรวดเร็วขึ้น ทันต่อเหตุการณ์ตลอดเวลา

  1. ด้านเศรษฐกิจ

1.1 ความขัดแย้งทางการเมืองส่งผลให้การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง

1.2 ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ความผันผวนของราคาสินค้าอุปโภค/บริโภค เช่น ข้าวสารอาหารแห้ง ยารักษาโรค แพงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

1.3 ราคาพืชผลการเกษตรไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับกลไกราคาของตลาด

1.4 เกษตรกรยังนิยมใช้สารเคมีในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

1.5 กลุ่มอาชีพขาดความเข้มแข็ง

1.6 ประชาชนยังมีระบบความคิด หรือการประกอบอาชีพแบบเดิม ๆ เช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยว

1.7 ขาดบุคลากรที่มีความสามารถทางด้าน ICT ในการเข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัย

1.8 ระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่ ยังไม่ได้นำมาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ด้านสังคม ประเพณีและวัฒนธรรม

2.1 มีสถานศึกษา และมีศูนย์การเรียนรู้นอกระบบ ซึ่งมีความพร้อม มีศักยภาพในการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง

2.2 มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตั้งอยู่ครอบคลุมทั้งพื้นที่ รวมถึงการให้บริการฟรีในเรื่องรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือตามแพทย์นัด

2.3 รัฐบาลกำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นอย่างยั่งยืน

2.4 รัฐบาลกำหนดค่านิยมหลักให้ชัดเจนขึ้นเพื่อรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย

  1. ด้านสังคม ประเพณีและวัฒนธรรม

2.1 ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่

2.2 ประชากรแฝงทำให้การจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลไม่สมดุลกับจำนวนประชากรที่มีอยู่จริง เบียดบังการใช้ทรัพยากรของท้องถิ่น

2.3 การตอบรับกระแสบริโภคนิยมและวัฒนธรรมตะวันตกของประชาชน

2.4 ปัญหายาเสพติด แหล่งอบายมุขเป็นการมอมเมาเยาวชน ก่อให้เกิดปัญหาสังคม

3. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.1 มีแหล่งน้ำธรรมชาติสามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตร

3.2 มีป่าไม้ที่เป็นทรัพยากรของชุมชนที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง

3. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.1 กฎหมายและข้อกำหนดเรื่องการควบคุมมลพิษ ปัญหามลพิษทางน้ำและอากาศ

3.2 ระบบรีไซเคิล

3.3 ระบบกำจัดขยะ

3.4 มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบร่วมกัน ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังน้อยอยู่