มิติทางด้านเศรษฐกิจ

ประชากรของหมู่บ้านม่วงลายหมู่ 7 และ หมู่ 9 ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ปลูกมันฝรั่ง ผ้าย้อมคราม ที่เหลือประกอบอาชีพ ทำสวนปลูกผัก หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ เพาะเห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เป็นต้น รวมทั้งเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร เป็ดและไก่

บ้านม่วงลายหมู่ที่ 7

ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 7

จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ของบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ทั้งสิ้น 621 คน จาก 159 ครัวเรือน แยกตามโครงสร้างประชากรได้ ดังนี้

 ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ของบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 7

ชาวบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 มีรายได้ต่อปีของหมู่บ้านเท่ากับ 168,343.65 บาท และ รายได้เฉลี่ยต่อคนเท่ากับ 43,102.48 บาท ยากจน 4 ครัวเรือน (ข้อมูลจากพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) ทั้งนี้ในชุมชนบ้านม่วงลายมีโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนจำนวนเงิน 280,000 บาท ให้กับผู้กู้จำนวน 50 ราย และยังมีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านม่วงลายที่มีเงินสะสมจำนวน 58,120 บาท มีสมาชิกทั้งสิ้น 76 คน แต่ไม่มีสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนและไม่มีกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

 ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 7

โครงสร้างพื้นฐานของบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในระดับเร่งรัดพัฒนาอันดับที่ 3 ไม่เป็นหมู่บ้าน OTOP ท่องเที่ยว ไม่เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และไม่เป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ ถนนเส้นทางหลักสามารถใช้ได้ดีเฉพาะฤดูแล้ง มีน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคเพียงพอ มีระบบน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือน แต่แหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกยังไม่เพียงพอมีเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น  (ข้อมูลจากพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร, วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561)

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 7

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานข้อมูลจากพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร (จปฐ.) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 สรุปไว้ดังนี้

ตาราง แสดงข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานข้อมูลจากพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร บ้านม่วงลาย หมู่ที่ 7

ตัวชี้วัด ชื่อตัวชี้วัด จำนวนที่สำรวจ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ
1 เด็กแรกเกิดมีน้ำหนัก 2,500 กรัมขึ้นไป 2 2 100.00 0 0.00
2 เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกัน 1 1 100.00 0 0.00
3 เด็กแรกเกิดถึง 12 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคระบาดตามตารางสร้างภูมิคุ้มกันโรค 71 71 100.00 0 0.00
4 ครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะปลอดภัยและได้มาตรฐาน 158 158 100.00 0 0.00
5 ครัวเรือนมีการใช้ยาเพื่อบำบัดบรรเทาอาการเจ็บปวดเบื้องต้นอย่างเหมาะสม 158 158 100.00 0 0.00
6 คนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี 369 369 100.00 0 0.00
7 คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30นาที 593 593 100.00 0 0.00
8 ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและบ้านมีสภาพคงทนถาวร 158 158 100.00 0 0.00
9 ครัวเรือนมีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและบริโภคเพียงพอตลอดปีอย่างน้อยคนละ 5 ลิตรต่อวัน 158 158 100.00 0 0.00
10 ครัวเรือนมีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี อย่างน้อยคนละ 45 ลิตรต่อวัน 158 158 100.00 0 0.00
11 ครัวเรือนมีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และถูกสุขลักษณะ 158 158 100.00 0 0.00
12 ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ 158 128 100.00 0 0.00
13 ครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยและภัยธรรมชาติอย่างถูกวิธี 158 158 100.00 0 0.00
14 ครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 158 158 100.00 0 0.00
15 เด็กอายุ 3 – 5 ปี ได้รับบริการเลี้ยงดูเตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน 16 16 100.00 0 0.00
16 เด็กอายุ 6 -14 ปีได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี 62 50 80.65 12 19.35
17 คนอายุ 15 – 59 ปี อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขอย่างง่ายได้ 433 433 100.00 0 0.00
18 คนอายุ 15 – 59 ปี มีอาชีพและรายได้ 392 392 100.00 0 0.00
19 คนอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอาชีพและรายได้ 100 100 100.00 0 0.00
20 รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อปี 158 158 100.00 0 0.00
21 ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน 158 158 100.00 0 0.00
22 คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา 618 524 84.79 94 15.21
23 คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ 618 535 86.57 83 13.43
24 คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 593 593 100.00 0 0.00
25 ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลจากครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ หรือภาคเอกชน 100 100 100.00 0 0.00
26 ผู้พิการ ได้รับการดูแลจากครอบครัวชุมชน ภาครัฐ หรือภาคเอกชน 1 1 100.00 0 0.00
27 ครัวเรือนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่น 158 158 100.00 0 0.00
28 ครอบครัวมีความอบอุ่น 158 158 100.00 0 0.00

ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้านม่วงลาย (กชช. 2 ค) หมู่ที่ 7

โครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้านของบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 (ข้อมูลจากจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) พบว่าทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ ถนนเส้นทางหลักสามารถใช้ได้ทั้งปี มีน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคเพียงพอ มีระบบน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือน แต่แหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกยังไม่เพียงพอ มีเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น และสามารถจัดจำแนกระดับปัญหาต่าง ๆ ดังนี้

ตาราง แสดงโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2 ค) ของบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7

ตัวชี้วัดที่ ตัวชี้วัด ปัญหามาก ปัญหาปานกลาง ปัญหาน้อย
1 การมีที่ดินทำกิน
2 น้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค
3 ไฟฟ้า
4 การมีงานทำ
5 การทำงานในสถานประกอบการ
6 ผลผลิตจากการทำนา
7 ความปลอดภัยในการทำงาน
8 การป้องกันโรคติดต่อ
9 ผลผลิตจากการทำไร่
10 อัตราการเรียนต่อของประชาชน
11 การได้รับความคุ้มครองทางสังคม
12 การมีส่วนร่วมของชุมชนการรวมกลุ่มของชุมชน
13 การเข้าถึงแหล่งเงินทุน
14 คุณภาพดิน
15 การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น
16 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน
17 การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อม
18 ความปลอดภัยจากยาเสพติด
19 ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชน
20 การได้รับประโยชน์จากสถานที่ท่องเที่ยว
21 การเรียนรู้ชุมชน
22 ถนน
23 น้ำเพื่อการเกษตร
24 การได้รับการศึกษาของประชาชน
25 การติดต่อสื่อสาร
26 การกีฬา
27 คุณภาพน้ำ
28 ความปลอดภัยจากภัยภิบัติ
29 ผลผลิตจากการทำการเกษตรอื่น ๆ
30 การประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน

การวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 7

จากแผนภูมิการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 7 โดยใช้โปรแกรมแผนผังใยแมงมุม (Spider diagram) ที่เป็นเครื่องมือแสดงผลการให้คะแนนในรูปกราฟเส้นในผังเส้นวงกลม 5 วงแสดงระดับคะแนน วงใกล้จุดศูนย์กลางคะแนนต่ำสุด (เป็นทุกข์มาก) วงนอกคะแนนสูงสุด (เป็นสุขมาก) ซึ่งเป็นการประเมินระดับความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือความสุขมวลรวมของชุมชน ซึ่งเป็นการประเมินแบบมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่าบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 มีการบริหารจัดการชุมชน การจัดการทุนชุมชน การพัฒนาด้านอาชีพ การแก้ปัญหาความยากจน อยู่ในระดับคะแนน  2.5 ซึ่งห่างจากค่าคะแนนต่ำสุด (0) แสดงให้เห็นชุมชนมีการจัดการที่ดี แต่การจัดการด้านความเสี่ยงชุมชนอยู่ในระดับคะแนน 1.5 ซึ่งเข้าใกล้ค่าคะแนนต่ำสุด (0) ดังนั้นจึงควรเร่งแก้ไขและพัฒนาเป็นลำดับแรก ๆ และจากในการสำรวจโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2 ค) นั้นยังพบว่าชาวบ้านม่วงลายยังคงประสบปัญหาในการจัดการผลผลิตจากเกษตร การทำไร่ และการได้รับการศึกษาของประชาชนที่ยังไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาด้านความเสี่ยงชุมชนการจัดการผลผลิตจากเกษตร การทำไร่ และการได้รับการศึกษาของประชาชนเป็นลำดับแรกเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 7

ชุมชนบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชน

ตาราง แสดงผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 7

ชื่อผู้ลงทะเบียน สินค้า ประเภทสินค้า ปีที่ลงทะเบียน การใช้สินค้า ราคา (บาท)
ศิริดาวัลย์ ศรีจูมลาย สบู่วัลย์ลดา สมุนไพรฯ 2560 ใช้ทำความสะอาดผิว 100
บุญมี ไขลายหงษ์ ผ้าพันคอ ของใช้ฯ 2560 ใช้พันคอเป็นแฟชั่นหรือกันหนาวก็ได้ 350
บุญมี ไขลายหงษ์ ผ้าคลุมไหล่ ของใช้ฯ 2560 ใช้คลุมไหล่ 250
บุญมี ไขลายหงษ์ ผ้าย้อมคราม ของใช้ฯ 2560 นำไปตัดชุดผ้าคราม 1,400

ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 9

จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ของบ้านม่วงลายหมู่ที่ 9 ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ทั้งสิ้น 587 คน จาก 165 ครัวเรือน แยกตามโครงสร้างประชากรได้ ดังนี้

 ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ของบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 9

ชาวบ้านม่วงลายหมู่ที่ 9 มีรายได้ต่อปีของหมู่บ้านเท่ากับ 205,125.45 บาท และ รายได้เฉลี่ยต่อคนเท่ากับ 57,658.77 บาท ไม่มีครัวเรือนที่ยากจน (ข้อมูลจากพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) ทั้งนี้ในชุมชนบ้านม่วงลายหมู่ที่ 9 จึงไม่มีโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ไม่มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ไม่มีสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนและไม่มีกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

 ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 9

โครงสร้างพื้นฐานของบ้านม่วงลายหมู่ที่ 9 เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในระดับเร่งรัดพัฒนาอันดับที่ 3 (หมู่บ้านที่มีความก้าวหน้า) ไม่เป็นหมู่บ้าน OTOP ท่องเที่ยว ไม่เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และไม่เป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ ถนนเส้นทางหลักสามารถใช้ได้ทั้งปี มีน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคเพียงพอ มีระบบน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือน แต่แหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกยังไม่เพียงพอ มีเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น  (ข้อมูลจากพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร, วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561)

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 9

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานข้อมูลจากพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร (จปฐ.) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 สรุปไว้ดังนี้

ตาราง แสดงข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานข้อมูลจากพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนครบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 9

ตัวชี้วัด ชื่อตัวชี้วัด จำนวนที่สำรวจ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ
1 เด็กแรกเกิดมีน้ำหนัก 2,500 กรัมขึ้นไป 1 1 100.00 0 0.00
2 เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกัน 1 1 100.00 0 0.00
3 เด็กแรกเกิดถึง 12 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคระบาดตามตารางสร้างภูมิคุ้มกันโรค 57 57 100.00 0 0.00
4 ครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะปลอดภัยและได้มาตรฐาน 164 164 100.00 0 0.00
5 ครัวเรือนมีการใช้ยาเพื่อบำบัดบรรเทาอาการเจ็บปวดเบื้องต้นอย่างเหมาะสม 164 164 100.00 0 0.00
6 คนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี 364 364 100.00 0 0.00
7 คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30นาที 549 549 100.00 0 0.00
8 ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและบ้านมีสภาพคงทนถาวร 164 164 100.00 0 0.00
9 ครัวเรือนมีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและบริโภคเพียงพอตลอดปีอย่างน้อยคนละ 5 ลิตรต่อวัน 164 164 100.00 0 0.00
10 ครัวเรือนมีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี อย่างน้อยคนละ 45 ลิตรต่อวัน 164 164 100.00 0 0.00
11 ครัวเรือนมีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และถูกสุขลักษณะ 164 164 100.00 0 0.00
12 ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ 164 164 100.00 0 0.00
13 ครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยและภัยธรรมชาติอย่างถูกวิธี 164 164 100.00 0 0.00
14 ครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 164 163 99.39 1 0.61
15 เด็กอายุ 3 – 5 ปี ได้รับบริการเลี้ยงดูเตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน 17 17 100.00 0 0.00
16 เด็กอายุ 6 -14 ปีได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี 52 45 86.54 7 13.46
17 คนอายุ 15 – 59 ปี อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขอย่างง่ายได้ 392 392 100.00 0 0.00
18 คนอายุ 15 – 59 ปี มีอาชีพและรายได้ 377 377 100.00 0 0.00
19 คนอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอาชีพและรายได้ 106 106 100.00 0 0.00
20 รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อปี 164 164 100.00 0 0.00
21 ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน 164 149 90.85 15 9.15
22 คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา 571 536 93.87 35 6.13
23 คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ 571 547 95.80 24 4.20
24 คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 549 549 100.00 0 0.00
25 ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลจากครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ หรือภาคเอกชน 106 106 100.00 0 0.00
26 ผู้พิการ ได้รับการดูแลจากครอบครัวชุมชน ภาครัฐ หรือภาคเอกชน 2 2 100.00 0 0.00
27 ผู้ป่วยเรื้อรัง ได้รับการดูแลจากครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ หรือภาคเอกชน 4 4 100.00 0 0.00
28 ครัวเรือนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่น 164 164 100.00 0 0.00
29 ครอบครัวมีความอบอุ่น 164 164 100.00 0 0.00

ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้านม่วงลาย (กชช. 2 ค) หมู่ที่ 9

โครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้านของบ้านม่วงลายหมู่ที่ 9 (ข้อมูลจากจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) พบว่าทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ ถนนเส้นทางหลักสามารถใช้ได้ทั้งปี มีน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคเพียงพอ มีระบบน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือน แต่แหล่งน้ำสหรับการเพาะปลูกยังไม่เพียงพอ มีเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น เช่นกัน และสามารถจัดจำแนกระดับปัญหาต่าง ๆ ดังนี้

ตาราง แสดงโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2 ค) ของบ้านม่วงลายหมู่ที่ 9

ตัวชี้วัดที่ ตัวชี้วัด ปัญหามาก ปัญหาปานกลาง ปัญหาน้อย
1 การมีที่ดินทำกิน
2 น้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค
3 ไฟฟ้า
4 การมีงานทำ
5 การทำงานในสถานประกอบการ
6 ผลผลิตจากการทำนา
7 ความปลอดภัยในการทำงาน
8 การป้องกันโรคติดต่อ
9 ผลผลิตจากการทำไร่
10 อัตราการเรียนต่อของประชาชน
11 การได้รับความคุ้มครองทางสังคม
12 การมีส่วนร่วมของชุมชนการรวมกลุ่มของชุมชน
13 การเข้าถึงแหล่งเงินทุน
14 คุณภาพดิน
15 การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น
16 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน
17 การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อม
18 ความปลอดภัยจากยาเสพติด
19 ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชน
20 การได้รับประโยชน์จากสถานที่ท่องเที่ยว
21 การเรียนรู้ชุมชน
22 ถนน
23 น้ำเพื่อการเกษตร
24 การได้รับการศึกษาของประชาชน
25 การติดต่อสื่อสาร
26 การกีฬา
27 คุณภาพน้ำ
28 ความปลอดภัยจากภัยภิบัติ
29 ผลผลิตจากการทำการเกษตรอื่น ๆ
30 การประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน

 

การวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน หมู่ที่ 9

จากแผนภูมิการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 9 โดยใช้โปรแกรมแผนผังใยแมงมุม พบว่าบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 มีการจัดการทุนชุมชน การแก้ปัญหาความยากจน และการพัฒนาด้านอาชีพ อยู่ในระดับคะแนน  2.5 ซึ่งห่างจากค่าคะแนนต่ำสุด (0) แสดงให้เห็นชุมชนมีการจัดการที่ดี แต่การจัดการความเสี่ยงชุมชนและการบริหารจัดการชุมชนอยู่ในระดับคะแนน 1.5 ซึ่งเข้าใกล้ค่าคะแนนต่ำสุด (0) ดังนั้นจึงควรเร่งแก้ไขและพัฒนาก่อน และจากในการสำรวจโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2 ค) นั้นยังพบว่าชาวบ้านม่วงลายหมู่ที่ 9 ยังคงประสบปัญหาในการจัดการผลผลิตจากการทำการเกษตร และการประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาด้านการจัดการความเสี่ยงชุมชน การบริหารจัดการชุมชน การจัดการผลผลิตจากการทำการเกษตร และการประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือนเป็นลำดับแรกเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านม่วงลายหมู่ที่ 9

อาชีพชาวบ้านในหมู่บ้านม่วงลายหมู่ 7 และ หมู่ 9

จากการสำรวจ และการทำประชาคมพบว่าชาวบ้านในหมู่บ้านม่วงลายหมู่ 7 และ หมู่ 9 มีอาชีพหลัก คือการทำนาในฤดูฝนและหลังจากนั้นจะทำพืชหลังนา เช่น มันฝรั่ง ทำสวนปลูกผัก หนอไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ และมีอาชีพเสริมในการเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ

ทำนา

ชาวบ้านในหมู่บ้านม่วงลายหมู่ 7 และ หมู่ 9 เริ่มเตรียมดินเพื่อทำนาในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยการเตรียมดินจ้างไถ 250 – 300 บาทต่อไร่ ใส่ปุ๋ย 250 – 300 บาท และหว่านกล้า จ้างไถ 250 บาทต่อไร่ โดยมีค่าต้นทุนเมล็ดพันธุ์ กระสอบละ 500 บาท ใช้ไร่ละ 25 กิโลกรัม

ช่วงเดือนมิถุนายน ถึง กันนยายน จะทำการปักดำกล้า จ้างถอนกล้า มัดละ 5 – 10 บาท (ไร่ละ 100 มัด) จ้างไถ 250 บาทต่อไร่ จ้างดำวันละ 300 บาท 5 คนต่อไร่ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ครึ่งกระสอบต่อไร่ โดยปุ๋ยอินทรีย์กระสอบละ 300 บาท น้ำมันสูบน้ำ 100 บาทต่อไร่

ช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน ในเดือนสิงหาคมจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 2 กระสอบต่อไร่ และปุ๋ยเคมี ครึ่งกระสอบต่อไร่ โดยปุ๋ยเคมีราคากระสอบละ 780 – 800 บาทต่อกระสอบ เดือนกันยายนจ้างถอนหญ้าวันละ 300 บาท และตัดหญ้าไร่ละ 200 บาท

ช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวผลผลิต ข้าว กข. 15 กข. 6 และมะลิ 105 ซึ่งมีต้นทุนในการเก็บเกี่ยวจ้างรถเกี่ยวข้าว 600 – 700 บาทต่อไร่ ผลผลิตที่ได้ประมาณ 12,200 บาทต่อตัน

ตาราง แสดงช่วงเวลาที่ทำนาและพืชหลังนาของชาวบ้านบ้านม่วงลาย หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9

ปลูกมันฝรั่ง

ในบ้านม่วงลายจำนวน 5-6 ครัวเรือน จะปลูกมันฝรั่งหลังการทำนา ในการปลูกมันฝรั่งจะทำการเตรียมดินเพื่อทำการเพาะปลูกมันฝรั่งในช่วงเดือนธันวาคม โดยมีค่าใช้จ่ายในการปลูก จ้างปลูกไร่ละ 2,000 บาท ใส่ปุ๋ยมีต้นทุน 20,000 บาทต่อไร่ จากนั้นจะทำการพ่นยาฆ่าแมลงช่วงเดือนมกราคม การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะจ้างเก็บเกี่ยวในราคา 4,000 บาทต่อไร่ ซึ่งจะทำการเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ผลผลิตที่ได้ประมาณ 60,000 บาทต่อไร่

ปศุสัตว์เลี้ยงสัตว์

ชาวบ้านม่วงลายทั้งสองหมู่บ้านมีอาชีพเสริมด้านการปศุสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ ดังนี้คือ ประมง เช่น เลี้ยงปลา และเลี้ยงกบ โคและกระบือ สัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ โดยการปศุสัตว์นี้ ชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านจะมีพื้นที่ในการเลี้ยงตามไร่นาของตัวเอง ปรับตามความเหมาะสมของพื้นที่ที่ตัวเองครอบครอง บางครัวเรือนไม่มีหนองน้ำก็จะไม่มีการเลี้ยงสัตว์ด้านการประมง เช่น ปลาหรือเลี้ยงกบ ทั้งยังมีปัญหาเรื่องน้ำที่ไม่เพียงพอในฤดูแล้ง จะทำให้หนองน้ำแห้งขอด ส่งผลให้ไม่เหมาะต่อการทำการประมง ในด้านปศุสัตว์บางครอบครัวมีพื้นที่น้อยไม่สามารถเลี้ยงวัวหรือกระบือได้ เพราะพอเข้าสู่ฤดูแล้งชาวบ้านจะประสบปัญหาเรื่องการจัดการอาหารสัตว์ เพราะในพื้นที่จะแล้งมากทำให้มีหญ้าไม่เพียงพอ แต่ส่วนใหญ่คนในหมู่บ้านจะนิยมเลี้ยงเป็ดและเลี้ยงไก่ เนื่องจากใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย และใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงน้อยด้วยเช่นกัน

การทำสวนปลูกผัก หนอไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ เพาะเห็ดฟาง และเห็ดนางฟ้า

ชาวบ้านม่วงลายทั้งสองหมู่บ้าน จะมีอาชีพเสริมหลังการทำนาปี โดยบางครอบครัวจะมีการ ทำสวน ปลูกผัก ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ เพาะเห็ดฟาง และเห็ดนางฟ้า ซึ่งเป็นการสร้างรายได้เสริม เนื่องจากหลังฤดูทำนาปีนั้นจะเข้าสู่ฤดูแล้ง และในพื้นที่บ้านม่วงลายนั้นจะมีปัญหาในเรื่องการจัดการน้ำโดยในพื้นที่บ้านม่วงลายนั้นจะไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่เพียงพอต่อการทำการเกษตรตลอดปี มีเพียงแค่หนองหานที่ค่อนข้างอยู่ไกลจากหมู่บ้านและยังมีหนองปลาดุกที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการทำการเกษตร ดังนั้นการเลืกปลูกพืชของชาวบ้านหลังนาจึงเป็นการเพาะปลูกพืชที่มีอายุสั้น ใช้น้ำน้อย ให้ผลผลิตเร็วและการลงทุนไม่สูง และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน) ชาวบ้านม่วงลายทั้ง 2 หมู่บ้านจะกลับมาทำนาปีอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นการทำนาและปลูกพืชตามฤดูกาล ซึ่งส่งผลดีต่อดินคือทำให้ดินในพื้นที่ได้มีเวลาในการพักตัวและฟื้นฟู จึงทำให้พืชผลผลิตทางการเกษตรได้ผลตอบแทนที่ดี

รายได้ในครัวเรือน

ชาวบ้านในหมู่บ้านบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 มีรายได้หลักและรายได้เสริมจากการทำการเกษตรและแหล่งต่าง ๆ ดังในกราฟ

สำหรับรายได้เสริมที่ชาวบ้านบ้านม่วงลายทั้งหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ได้รับ

  • จักสานกระติบข้าวใบละ 150-200 บาท
  • จักสานข้องใบละ 150 บาท
  • รับจ้างทำบายศรีในงานบุญต่าง ๆ ครั้งละ 300-2,000 บาท
  • รับจ้างเก็บมะเขือเทศ 300 บาทต่อวัน
  • รับจ้างถอนกล้ามัดละ 5-6 บาท
  • ดำนาวันละ 300 บาท
  • เกี่ยวข้าววันละ 300 – 400 บาท
  • ผสมพันธุ์มะเขือเทศวันละ 300 บาท

จากกราฟแสดงให้เห็นว่าชาวบ้านบ้านม่วงลายทั้ง 2 หมู่บ้านมีรายได้หลักจากการทำการเกษตร การแปรรูปผ้าคราม และที่เหลือจะเป็นการขายพืชผลทางการเกษตรและปศุสัตว์ สำหรับบางครอบครัวอาจมีรายได้จากการเป็นอาสาสมัครหมู่บ้าน หรือเบี้ยยังชีพต่าง ๆ ที่รัฐบาลจัดสรรให้

ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

ชาวบ้านในหมูบ้านบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 มีรายจ่ายต่อปี ดังนี้

จากกราฟแสดงให้เห็นว่าชาวบ้านบ้านม่วงลายทั้ง 2 หมู่บ้านมีรายจ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินชีวิตและนอกจากนั้นยังมีค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาพยาบาล ค่าภาษีสังคมและค่าจ้างทางการเกษตรที่แต่ละครัวเรือนจำเป็นต้องใช้และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ภาระหนี้สิน

ชาวบ้านในหมูบ้านบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 มีภาระหนี้สิน ดังนี้

  • หนี้สินต่อรายอยู่ที่ 20,000-200,000 บาท โดยหนี้สินส่วนใหญ่เกิดจากการกู้มาเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการทำการเกษตร และซื้อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำการทำการเกษตร
  • ในการกู้ยืม ธกส. ธนาคารจะประเมินตามสินทรัพย์ โดยจะให้เงิน 50% ของราคาประเมิน
  • ชาวบ้านในหมูบ้านสามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนหมู่บ้านได้ 30,000 บาทต่อคน
  • กลุ่มออมทรัพย์หมู่ที่ 7 สมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านในหมู่ 7 สามารถให้สมาชิกกู้ยืมได้