ปริมาณปุ๋ยหมักที่ใช้เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโตและผลผลิตสูงคือ 2 ตันต่อไร่ ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมาก ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยหมักด้วยถ่านชีวภาพนอกจากจะทำให้พืชมีผลผลิตที่สูงขึ้นแล้วยังสามารถลดปริมาณปุ๋ยหมักที่ใช้ ซึ่งจะนำไปสู่ทั้งการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
วัตถุประสงค์
- เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยหมักด้วยถ่านชีวภาพ
- เพื่อยกระดับระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายโดยการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้จากการผลิตพืช
ผลการดำเนินงาน
ตาราง แสดงผลการดำเนินกิจกรรมธนาคารปุ๋ยหมัก: การเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยหมักด้วยถ่านชีวภาพ
ลำดับที่ | รายการ | ค่าเป้าหมาย | ผลการดำเนิน | |||
1 | เกษตรกรบ้านม่วงลายหมู่ที่ 7 และ 9 | 50 | 50 | |||
2 | นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์ | 10 | 19 | |||
3 | คณาจารย์และบุคลากรสาขาวิชาพืชศาสตร์ | 5 | 3 |
สรุปผลการดำเนินงาน/ข้อเสนอแนะ
เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมการเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยโดยผสมกับถ่านชีวภาพส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของกลุ่มการผลิตปุ๋ยหมักบ้านม่วงลาย จากการสอบถามเบื้องต้นทำให้ทราบว่าความรู้เรื่องถ่านชีวภาพนั้นถือเป็นความรู้ใหม่ของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ที่เข้ารับการอบรมจะนำความรู้ไปใช้เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตพืชของตนเองต่อไป
![]() |
![]() |
![]() |